frenzy 1688
ภูมิศาสตร์ ภาคอีสาน

หัวข้อ

ภูมิศาสตร์ ภาคอีสาน

ภูมิศาสตร์ ภาคอีสาน  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน (มาจากภาษาบาลี อีสาน, ภาษาสันสกฤต อีศานฺย แปลว่า “ตะวันออกเฉียงเหนือ”)[3] เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร วัฒนธรรมภาคอีสาน มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิศาสตร์ ภาคอีสาน 

 

ภูมิศาสตร์ ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ภาคอีสานตอนบน ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม

 

ภาษาหลักของภาคนี้ 

 

ภาษาลาวอีสาน ซึ่งเป็นภาษาสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย(ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหารอีสาน ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น

 

ภูมิศาสตร์

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครอบคลุมพื้นที่ 160,000 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของประเทศเยอรมนี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร โดยลาดเอียงมาจากทิวเขาเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันตกของภูมิภาค ลงไปยังแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภูมิภาคและทิศใต้กั้นประเทศกัมพูชาด้วยทิวเขาพนมดงรัก แอ่งโคราชจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ทิศเหนือของแอ่งโคราชจะจรดแอ่งสกลนครโดยมีเทือกเขาภูพานกั้นไว้ แอ่งสกลนครมีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเลย และแม่น้ำสงคราม ดินในภาตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นทราย ประกอบกับแหล่งสะสมเกลือเป็นจำนวนมากภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบ บางส่วนเป็นภูเขา โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบึงกาฬ โดยมีจุดสูงสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ ยอดภูหลวง 1,835 เมตร เหนือระดับทะเลปานกลาง ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง (จังหวัดเลย)

 

ลำน้ำสาขา

 

ลำน้ำสาขาหลักของแม่น้ำโขงในประเทศไทย ได้แก่ แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี แม่น้ำมูลไหลมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา และไหลไปทางทิศตะวันออก บรรจบกับแม่น้ำโขงในจังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำอีกสายหนึ่ง คือ แม่น้ำชี ซึ่งไหลผ่านตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนที่จะไหลไปทางใต้เพื่อบรรจบกับแม่น้ำมูลในจังหวัดศรีสะเกษ แม่น้ำเลย และแม่น้ำสงคราม ก็เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงเช่นเดียวกัน โดยแม่น้ำเลยไหลไปทางทิศเหนือผ่านจังหวัดเลย และแม่น้ำสงครามไหลไปทางตะวันออกผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคายช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ ตั้งแต่ 30.2 องศาเซลเซียส ถึง 19.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ คือ 43.9 องศาเซลเซียส ในจังหวัดอุดรธานี อุณหภูมิต่ำสุด คือ -1.4 องศาเซลเซียส ในจังหวัดสกลนคร

 

ประชากรศาสตร์

 

ประชากรรวมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนประมาณ 21,781,418 คน ร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น จังหวัดดังกล่าวนี้มีเทศบาลนครที่มีชื่อเดียวกันกับจังหวัด เรียกกันว่า “สี่เมืองใหญ่ของอีสาน” ในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนประชากรในเทศบาลนครทั้งสี่ ได้แก่ เทศบาลนครนครราชสีมา 118,061 คน, เทศบาลนครอุดรธานี 116,870 คน, เทศบาลนครขอนแก่น 104,037 คน, และเทศบาลนครอุบลราชธานี 70,870 คน อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2553 มีเพียงร้อยละ 50 ของประชากรในภาคนี้อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีประชากรในเขตเทศบาลมากที่สุด ส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดน้อยที่สุด ดังนั้น ประชากรอีกส่วนหนึ่งยังคงอยู่ในเขตชนบท แต่อาศัยอยู่รอบ ๆ ศูนย์กลางเขตเมืองภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีจำนวนผู้ใช้ภาษาอีสานประมาณ 15 ถึง 23 ล้านคน ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรถิ่นไทย ซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเขมร ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันทั่วไปเป็นทางการโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ แต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก นอกจากนี้ ยังมีภาษาไทยสำเนียงโคราช ใช้พูดกันในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง มีผู้ใช้ราว 10,000 คน[5] มีตำแหน่งทางภาษาระหว่างภาษาลาวและภาษาไทยกลางมีชนกลุ่มน้อยชาวเขมรจำนวนมากกระจุกตัวอยู่ในทางตอนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ และผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามบางส่วนในจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม

 

ลักษณะทางกายภาพ

 

ภาคอีสานเป็นที่ราบสูงแบบแอ่งแผ่นดินตื้น (Shallow Basin) เรียกกันโดยรวมว่า ที่ราบสูงโคราช(Khorat Plateau)  มีรูปร่างคล้ายถ้วยเป็นแอ่งอยู่ตรงกลาง  ลาดเอียงจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก บริเวณชายขอบเป็นภูเขาสูง พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหิน  มีชั้นหินกรวดมน หินดินดาน และเกลือหิน แทรกอยู่เป็นตอนๆ  จากลักษณะทางธรณีวิทยาและอายุของหิน ทำให้ทราบว่าแผ่นดินอีสานอยู่ในช่วงตอนปลายของมหายุคเมโสโซอิก  ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเป็นแอ่งทีมีการทับถมของตะกอน  บางช่วงได้ยุบจมลง เป็นทะเลตื้น ๆ และเมื่อน้ำทะเลระเหย จึงตกตะกอนเป็นชั้นของเกลือหินแทรกอยู่ทั่วทั้งบริเวณที่ราบ

 

บทความที่แนะนำ